วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2563

The Relationship between Emotional Intelligence, Self-Directed Learning Readiness and Achievement

The Relationship between Emotional Intelligence, Self-Directed Learning Readiness and Achievement
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจอิทธิพลของความฉลาดทางอารมณ์และความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและอิทธิพลของความฉลาดทางอารมณ์ต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนที่อยู่ใน อังการา Koç, Serdar Engin 2019
International Online Journal of Education and Teaching, v6 n3 p672-688 2019
The aim of this study is to understand the influence of emotional intelligence and self-directed learning readiness on achievement and the influence of emotional intelligence on self-directed learning readiness of students who are in their first or second-year education in a private university in Ankara. The scales used are self-directed learning readiness scale and Schutte et al.'s (2001) emotional intelligence. SPSS version 20 is used by the researcher to carry out correlation and regression analysis to reach conclusions about the research questions. It is found that emotional intelligence and self-directed learning readiness are strongly correlated. Also, emotional intelligence predicts self-directed learning readiness with very little support from gender. However, there is no relation found between self-directed learning and GPA as well as emotional intelligence and GPA. Participants' being from different departments does not have an influence on GPA.
Informascope. 3251 Cadde Kozlu Evler 2/49 Yasamkent, 06800, Turkey. e-mail: iojetmail@gmail.com; Web site: https://iojet.org/index.php/IOJET

Principal's Perceived Relationship between Emotional Intelligence, Resilience, and Resonant Leadership throughout Their Career

Principal's Perceived Relationship between Emotional Intelligence, Resilience, and Resonant Leadership throughout Their Career
เมื่อต้องเผชิญกับแรงกดดันในที่ทำงาน ผู้บริหารจำเป็นต้องเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์และการเป็นผู้นำการศึกษาเชิงคุณภาพนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการรับรู้ของตนเอง ผู้ปกครอง เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ และความยืดหยุ่นและวิธีการรับรู้ นำไปใช้และรักษาความเป็นผู้นำ
Turk, Ellen W.; Wolfe, Zora M.2019

Turk, Ellen W.; Wolfe, Zora M.
International Journal of Educational Leadership Preparation, v14 n1 p147-169 Spr 2019
Principals face ma การศึกษาเชิงคุณภาพนี้ny workplace stressors. Given these pressures, it is imperative that principals identify and strengthen their emotional intelligence, resilience, and resonant leadership. The purpose of this qualitative study was to examine principals' self-perceptions of the relationship between emotional intelligence and resilience and how their perceptions of these concepts were applied to initiate, utilize, and sustain resonant leadership throughout their career. This study examined the ways in which principals demonstrated evidence of initiating, utilizing, and sustaining resonant leadership. The study also examined which skills of emotional intelligence and resilience principals drew on to initiate, utilize, and sustain resonant leadership. The data was triangulated utilizing the tenets of Goleman's Four Quadrant Model of Emotional Intelligence, Reivich and Shatté's seven abilities of resilience, and Boyatzis and McKee's concept of resonant leadership (Boyatzis & McKee, 2005; Goleman, 1995; Reivich & Shatté, 2002). The study revealed that depending on a participants' years of experience, principals demonstrated different skills of emotional intelligence and resilience to initiate, utilize, and sustain resonant leadership. The study findings suggest Reivich & Shatté's seven abilities of resilience as pre-requisite skills to support a leader's ability to initiate, utilize, and sustain resonant leadership, as opposed to a byproduct of emotional intelligence and resonant leadership originally proposed by Goleman (1995) and McKee, Boyatzis, & Johnson (2008).

Emotional Intelligence and Academic Success: A Conceptual Analysis for Educational Leaders

Emotional Intelligence and Academic Success: A Conceptual Analysis for Educational Leaders
การวิเคราะแนวคิดของความฉลาดทางอารมณ์ ในการวิเคราะห์จะสังเกตได้ว่ามีเพียงความสนใจที่จำกัด ได้มุ่งเน้นที่ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียน ดังนั้นควรตรวจสอบบทบาทของความฉลาดทางอารมณ์ในการปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
Labby, Sandy; Lunenburg, Frederick C.; Slate, John R. 2012


Labby, Sandy; Lunenburg, Frederick C.; Slate, John R.
International Journal of Educational Leadership Preparation, v7 n1 Spr 2012
In this review of the literature, we briefly examined the development of intelligence theories as they lead to the emergence of the concept of emotional intelligence(s). In our analysis, we noted that only limited attention had been focused on the emotional intelligence skills of school administrators. Accordingly, we examined the role of emotional intelligence in improving student achievement. Because principals as educational leaders are responsible for the successful operation of their respective schools, we contend it is important to examine the link between effective leadership skills and practices and student achievement. (Contains 2 footnotes.)
NCPEA Publications. Web site: http://www.ncpeapublications.org

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563

บทความใหม่ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทความใหม่ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/57941/47943

ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

  • กัลยมน อินทุสุตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ศิริชัย ชินะตังกูรสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องคป์ ระกอบความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) รูปแบบความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) ผลการยืนยันรูปแบบความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยโรงเรียนประถมศึกษา 120 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษา รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 480 คน ใช้แบบสอบถามที่เกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าความเชื่อมั่น 0.987 3) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นในการยืนยันรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ภาวะผู้นำ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 3) การสร้างสมรรถนะทีมงาน 4) ความรับผิดชอบต่อสังคม 5) การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง 6) การมีความสุขในชีวิต และ 7) การตระหนักในอารมณ์ตนเอง
2. รูปแบบความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็ นความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพหุองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กัน ประกอบด้วย ภาวะผู้นา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรับผิดชอบต่อสังคม การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง การมีความสุขในชีวิต และการตระหนักในอารมณ์ตนเอง ซึ่งมีอิทธิพลต่อการสร้างสมรรถนะทีมงานทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญ
3. ผลการยืนยันรูปแบบความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ เป็นประโยชน์ และถูกต้องครอบคลุม สอดคล้องกับกรอบแนวคิดทฤษฎีการวิจัย

EMOTIONAL INTELLIGENCE OF ADMINISTRATORS IN BASIC EDUCATION SCHOOL
The purposes of this research were to determine: 1) the components of emotional intelligence of administrators in basic education school 2) the model of emotional intelligence of administrators in basic education school and 3) the confirmation model of emotional intelligence of administrators in basic education school. Samples and instruments used in the research include : 1) 9 specialists and related persons using semistructured interviews ; 2) 120 basic education schools and the respondents were school directors, academic department’s chiefs, teachers and school board committee’s chairpersons using questionnaires with the reliability of 0.987; and 3) 5 specialists using opinionnaire. The statistics for analyzing the data were  frequency, percentage, mean, standard deviation, exploratory factor analysis, path analysis and content analysis.
The results of this research found that:
1. The components of the emotional intelligence of administrators in basic education school were 1) leadership, 2) interpersonal relationship, 3) team capability, 4) social responsibility, 5) change agent, 6) happiness, and 7) self awareness.
2. The model of the emotional intelligence of administrators in basic education school was a
multivariate causal relationship model consisted of 7 principal components, namely leadership, interpersonal relationship, social responsibility, change agent, happiness, and self awareness which affected team capability in both direct and indirect effect significantly.
3. The confirmation model of emotional intelligence of administrators in basic education school was found propriety, feasibility, utility and accuracy with the theory, principles and concept of the research.

Downloads

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำกับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำกับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี
The study of the relation between the leadership types and emotional quotient of the primary school administrators under the offices of Udonthani education service area

Classification :.DDC: 372.1201
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาแบบภาวะผู้นำและความฉลาดทาง อารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำกับความฉลาด ทางอารมณ์ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 258 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับแบบภาวะผู้นำของเฮอร์เซย์ และบลันชาร์ด (Hersey and Blanchard) และแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ และการหาค่าความสัมพันธ์โดยใช้สูตรการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบคอนติงเจนซี (The Coefficient of Contingency) ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี ส่วนใหญ่ใช้แบบภาวะผู้นำแบบการมีส่วนร่วม (Participating) รองลงมาคือ ใช้แบบภาวะผู้นำแบบการขายความคิด (Selling) ส่วนแบบภาวะผู้นำแบบการสั่งงาน (Telling) และแบบภาวะผู้นำแบบการมอบหมายงาน (Delegating) พบในระดับน้อยและน้อยที่สุดตามลำดับ 2. การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ทั้งด้านดี เก่ง และสุข โดยใช้แบบประเมินตนเองของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ รองลงมาคือ สูงกว่าเกณฑ์ปกติ และพบว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าปกติเพียงเล็กน้อย 3. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำกับความฉลาดทาง อารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี พบว่ามีความสัมพันธ์ระดับต่ำ
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. ศูนย์วิทยบริการ
Address: 64 ถนนทหาร ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000
Email: arcenter@udru.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Created: 2548
Modified: 2552-11-13
Issued: 2552-08-18
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
CallNumber: วพ 372.1201 ว562ก
tha
Spatial: จังหวัดอุดรธานี
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
RightsAccess: